Header

โรคเบาหวาน "ไม่กินหวาน" ก็เสี่ยงเป็นได้

นพ.ภัทรพล กันทรากรกิติ

โรคเบาหวาน คือ ภาวะปกติเมื่อรับประทานอาหารเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ระดับนํ้าตาลในเลือดสูงขึ้น
หลังจากนั้นร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อนมาช่วยลดระดับนํ้าตาลในเลือดให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ
โดยอินซูลินจะนำพานํ้าตาลเข้าสู่เซลล์

โรคเบาหวาน หมายถึง โรคที่มีระดับนํ้าตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติอย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง
เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนหลังฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ
หรือภาวะดื้อต่ออินซูลินทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่

โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 6 ชนิด (ตามองค์การอนามัยโลก) เรามาดูชนิดของเบาหวานกัน

  1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 DM) : ผลจากการทำลายเบต้าเซลล์ที่ตับอ่อนจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย
    มักพบในคนอายุน้อย รูปร่างไม่อ้วน อาจเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากสารคีโตน (Ketoacidosis)
    เป็นอาการแสดงแรกของโรคจำเป็นต้องรักษาด้วยอินซูลิน (Insulin) ภายใน 12 เดือนหลังการวินิจฉัย
    อาจตรวจทางห้องปฏิบัติการสนับสนุน (เช่นระดับ c-peptide , autoantibody ต่างๆ)
  2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 DM) : 95% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด
    มีภาวะดื้อต่ออินซูลินร่วมกับการผลิตอินซูลินที่เหมาะสมบกพร่อง มักพบในอายุ 30 ปีขึ้นไป รูปร่างท้วม หรืออ้วน
    พบมากขึ้นในหญิงที่มีประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการมักไม่รุนแรง ค่อยเป็นค่อยไป มักมีประวัติครอบครัวเป็น
  3. โรคเบาหวานชนิดผสมระหว่างชนิดที่ 1 และ 2

    a. เบาหวานที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน (Slowly evolving immune mediated diabetes)

      • i. อาการคล้ายเบาหวานชนิดที่ 2 ยังไม่ต้องใช้อินซูลินในช่วง 6-12 เดือนแรกหลังการวินิจฉัย
        แต่เบต้าเซลล์ของตับอ่อนเสื่อมเร็วกว่า
        ii. มักไม่อ้วนและไม่มีอาการแสดงของภาวะดื้อต่ออินซูลิน
        iii.ตรวจพบ autoantibodies

    b. เบาหวานชนิดที่ 2 ที่เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (Ketosis prone type 2 diabetes)

      • i. พบภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนคั่ง โดยไม่มีภาวะกดดัน (stress) รุนแรงร่วม
        แต่ต่อมาอาจมีภาวะสงบจากโรคเบาหวานได้นบางราย
        ii. ชื่อว่ามีความผิดปกติของเบตาเซลล์ของตับอ่อนอย่างรุนแรงชั่วคราวเป็นระยะสั้นๆ
        iii.ตรวจไม่พบ autoantibodies

Autoantibodies คืออะไรส่งผลกระทบอะไรต่อโรค

Autoantibody หมายถึง ภูมิคุ้มกันร่างกายผู้ป่วยสร้างขึ้นต่อส่วนของเซลล์ตนเองตนเอง โดยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1
สามารถตรวจพบปฏิกิริยาต่อส่วนของเซลล์ไอส์เล็ต (ทำหน้าที่สร้างอินซูลินจากตับอ่อน) ได้แก่ antibody ต่อ GAD , IA2 และ ZnT8 (Anti-GAD, Anti-
IA2, Anti ZnT8) เป็นต้น

  • 4. โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ
    • a. โรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติบนสายพันธุกรรมเดี่ยวที่ควบคุมการทำงานของเบตาเซลล์
      b. โรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติบนสายพันธุกรรมที่ควบคุมการทำงานของอินซูลิน
      c. โรคเบาหวานที่เกิดจากโรคที่ตับอ่อน
      d. โรคเบาหวานที่เกิดจากโรคของต่อมไร้ท่อ
      e. โรคเบาหวานที่เกิดจากยาหรือสารเคมีบางชนิด เช่น pentamidine, glucocorticoids, gamma-interferon,
      phenytoin, nicotinic acid, diazoxide, vacor
      f. โรคเบาหวานที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น congenital rubella, CMV
      g. โรคเบาหวานที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่พบไม่บ่อย
      h. โรคเบาหวานที่พบร่วมกับกลุ่มอาการต่าง 
  • 5. โรคเบาหวานที่วินิจฉัยครั้งแรกขณะตั้งครรภ์
    6. โรคเบาหวานที่ไม่สามารถแยกชนิดได้เมื่อได้รับการวินิจฉัย

ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวาน

หากมีข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ควรรับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน

  • อายุ 35 ปีขึ้นไป
  • อ้วน (BMI >/= 25 กก/ตรม. หรือเส้นรอบเอว >/= 90 ซม. ในผู้ชาย หรือ >/= 80 ซม. ในผู้หญิง หรือ
    รอบเอวมากกว่าส่วนสูงหาร 2) และมี พ่อ แม่ พี่ หรือ น้อง เป็นโรคเบาหวาน
  • เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือกำลังรับประทานยาควบคุมความดันโลหิต
  • มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (ระดับไตรกลีเซอไรด์ >/= 250 มก./ดล. หรือ HDL < 35 มก./ดล.)
  • มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือเคยคลอดบุตรที่น้ำหนักตัวเกิน 4 กิโลกรัม
  • เคยได้รับการตรวจพบเป็นภาวะก่อนเบาหวาน (impaired glucose tolerance หรือ impaired fasting glucose)
  • มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • กลุ่มอาการถุงนํ้ารังไข่หลายใบ
  • โรคอ้วนรุนแรง
  • ผู้ที่เป็น HIV/ AIDS

อาการของโรคเบาหวาน

  • แรกเริ่มมักไม่มีอาการจึงแนะนำให้รับการตรวจคัดกรองในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง
  • อาการที่เกิดขึ้นได้ เช่น กระหายนํ้าบ่อย ปัสสาวะบ่อยและมาก นํ้าหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ เป็นแผลง่ายหายยาก ชาปลายมือปลายเท้า
  • อาการจากภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันจากนํ้าตาลในเลือดสูง
  • อาการจากภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนที่ไต ภาวะแทรกซ้อนที่ตา ภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดหัวใจและสมอง ภาวะแทรกซ้อนที่เท้า

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

วิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. การตรวจระดับพลาสมากลูโคสตอนเช้าหลังอดอาหารข้ามคืน มากกว่า 8 ชั่วโมง มีค่า >/= 126 มก./ดล.
  2. การตรวจระดับพลาสมากลูโคส ณ เวลาใด ๆ มีค่า >/= 200 มก./ดล.
  3. การตรวจความทนต่อนํ้าตาลกลูโคส ระดับพลาสมากลูโคสที่ 2 ชั่วโมงหลังดื่มนํ้าตาลกลูโคส มีค่า >/= 200 มก./ดล.
  4. การตรวจวัดระดับ A1C ณ เวลาใดๆ มีค่า >/= 6.5% (อาจมีความคลาดเคลื่อนหากมีโรคเลือดบางประเภท ไม่มีม้าม หรือโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย)

กรณีมีอาการของโรคเบาหวาน เช่น กระหายนํ้าบ่อย ปัสสาวะบ่อยและมาก นํ้าหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ สามารถวินิจฉัยได้ตามเกณฑ์

กรณีหากไม่มีอาการ ให้ตรวจซํ้าด้วยวิธีการเดิม เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนฉับพลันของโรคเบาหวาน

ภาวะนํ้าตาลต่ำในเลือด

เกณฑ์วินิจฉัย

  • ระดับพลาสมากลูโคส </= 70 มก./ดล. + มีอาการของภาวะนํ้าตาลตํ่าในเลือด +
    อาการหายไปเมื่อระดับนํ้าตาลในเลือดสูงขึ้น

อาการและอาการแสดง

  • อาการออโตโนมิค ได้แก่ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว รู้สึกหิว รู้สึกร้อน เหงื่อออก มือสั่น รู้สึกกังวล
    ความดันโลหิตซิสโตลิคสูง กระสับกระส่าย คลื่นไส้ และชา
  • อาการสมองขาดกลูโคส ได้แก่ อ่อนเพลีย รู้สึกร้อนท้องที่ผิวหนังเย็นและชื้น อุณหภูมิกายตํ่า มึนงง
    ปวดศีรษะ การทำงานสมองด้าน cognitive บกพร่อง ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง สับสน ไม่มีสมาธิ
    ตาพร่ามัว พูดช้า ง่วงซึม หลงลืม พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง อัมพฤกษ์ครึ่งซีก หมดสติ และชัก

การป้องกัน

  • เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดทั้งผู้ป่วย ญาติ ผู้ใกล้ชิด และผู้ดูแล โดยเฉพาะเมื่อมีอาการข้างต้น
  • ตรวจวัดระดับนํ้าตาลในเลือดด้วยตนเอง (SMBG)
  • การลดความเข้มงวดของเป้าหมายในการรักษาระดับนํ้าตาล
  • ค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่อาการเกิดภาวะนํ้าตาลตํ่าในเลือด และขจัดหรือลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำได้ ได้แก่
    การงดใช้หรือลดขนาดของอินซูลิน และ/หรือยากลุ่ม sulfonylurea เป็นต้น

การรักษาเบื้องต้น กรณีภาวะนํ้าตาลตํ่าในเลือดระดับไม่รุนแรง-ปานกลาง

  • รับประทานคาร์โบไฮเดรท 15 กรัม ได้แก่ กลูโคสเม็ด 3 เม็ด นํ้าส้มคั้น 180 มล. นมสด 240 มล.
    นํ้าอัดลม 180 มล. นํ้าผึ้ง 3 ชช. ขนมปังปอนด์ 1 แผ่นสไลด์ ข้าวต้มหรือโจ๊ก ½ ถ้วยชาม
  • ติดตามระดับกลูโคสในเลือดที่ 15 นาที รับประทานปริมาณเดิมซํ้าถ้าระดับกลูโคสยังคง < 70 มก./ดล.
  • ถ้าอาการดีขึ้น และกลูโคสในเลือด > 80 มก./ดล. ให้รับประทานต่อเนื่องทันทีเมื่อถึงเวลาอาหาร

ภาวะนํ้าตาลในเลือดสูง

นํ้าตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic ketoacidosis (DKA)

  • เกิดจากร่างกายขาดอินซูลินอย่างสิ้นเชิง ไม่สามารถนำนํ้าตาลในเลือดที่สูงไปใช้เป็นพลังงานได้
    จึงมีการสลายไขมันมาใช้พลังงานแทนนํ้าตาล การสลายไขมันทำให้เกิดกรดไขมัน
    และถูกเปลี่ยนเป็นสารคีโตน
  • อาการภาวะเลือดเป็นกรดจากสารคีโตนคั่ง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
    ลมหายใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้ เหนื่อย หายใจหอบลึก สับสน ซึม

นํ้าตาลในเลือดสูงชนิด hyperglycemic hyperosmolar state (HHS)

  • เกิดจากมีปัจจัยทำให้ ฮอร์โมนต้านอินซูลินสูงขึ้น
    ส่งผลให้ร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอในการนำนํ้าตาลไปใช้เป็นพลังงาน
    แต่ยังพอมีอินซูลินในการยับยั้งการสลายไขมัน พบระดับนํ้าตาลในเลือดสูงมาก
  • อาการซึม สับสน ชัก

การป้องกัน

  • รับประทานยาเบาหวานและ/หรือ ฉีดยาอินซูลินสมํ่าเสมอ
  • หากมีอาการกระหายนํ้า ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย นํ้าหนักลด แนะนำให้ดื่มนํ้าเปล่า
    เจาะตรวจระดับนํ้าตาลปลายนิ้ว ตรวจคีโตนในปัสสาวะ หากอาการไม่ดีขึ้น
    หายใจหอบเหนื่อยให้รีบมาโรงพยาบาล
  • เฝ้าระวังภาวะที่อาจกระตุ้นให้นํ้าตาลในเลือดสูง เช่น การติดเชื้อ

ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน

โรคแทรกซ้อนที่ไต

- ระยะเริ่มแรกตรวจพบโดยการตรวจอัลบูมินในปัสสาวะ
- ตรวจปัสสาวะและเลือด (spot UACR และประเมิน eGFR) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- การป้องกัน
  • ควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติ
  • ควบคุมความดันโลหิตให้ได้ตามเป้าหมาย
  • ประเมินการใช้ยาที่มีประโยชน์ในการลดการลุกลามของโรคไตเรื้อรังหากมีข้อบ่งชี้โดยแพทย์
  • จำกัดโปรตีนในอาการไม่เกิน 0.8 กรัม/กก. ของนํ้าหนักตัวต่อวัน (คำนวณจากอาหารแลกเปลี่ยน)
  • ผู้ป่วยที่รักษาด้วยการทดแทนไต ควรเพิ่มปริมาณโปรตีนในอาหารเพื่อชดเชยการสูญเสียพลังงานจากโปรตีนไปกับการฟอกไต
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือสารที่มีอันตรายต่อไต

โรคแทรกซ้อนที่ตา

- ตรวจตาปีละ 1 ครั้ง โดยจักษุแพทย์เพื่อประเมินภาวะจอตาผิดปกติจากเบาหวาน และภาวะจุดภาพชัดบวมจากเบาหวาน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความคมชัดในการมองเห็นได้
- การป้องกัน
  • ควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติ
  • ควบคุมความดันโลหิตให้ได้ตามเป้าหมาย
  • ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย
  • พบจักษุแพทย์หากตรวจพบความผิดปกติ

โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง

  • การสูบบุหรี่
  • ประวัติของโรคหลอดเลือดหัวใจในครอบครัว
  • ความดันโลหิตสูง
  • ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
  • โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย
  • การตรวจพบอัลบูมินในปัสสาวะ
- ปัจจัยเสี่ยง
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และตรวจ เอกซเรย์ปอด ในกรณีที่มีอาการบ่งชี้ หรือปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือผู้สูงอายุ
- การป้องกัน
  • ระดับปฐมภูมิ (เมื่อยังไม่ปรากฏอาการและอาการแสดง)
    • ควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติ
    • ควบคุมระดับความดันโลหิตตํ่ากว่า 130/80 มม.ปรอท
    • ควบคุมระดับไขมันในเลือด LDL ตามเป้าหมายขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย
    • เลิกสูบบุหรี่ และเลี่ยงควันบุหรี่มือสอง
  • ระดับทุติยภูมิ (สำหรับผู้ป่วยที่มีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองแล้ว)
    • ควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดโดยระวังไม่ให้เกิดผลข้างเคียง เลือกใช้ยากลุ่มที่ลดความเสี่ยงการเกิดโรคซํ้าโดยแพทย์
    • ควบคุมระดับความดันโลหิตตํ่ากว่า 130/80 มม.ปรอท
    • ควบคุมระดับไขมันในเลือด LDL ตามเป้าหมายขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย
    • เลิกสูบบุหรี่ และเลี่ยงควันบุหรี่มือสอง
    • การใช้ยาต้านเกร็ดเลือด

โรคแทรกซ้อนที่เท้า

- ตรวจวัดระดับความรู้สึกบริเวณฝ่าเท้าและคลำชีพจรที่เท้า เพื่อประเมินภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมและหลอดเลือดส่วนปลายที่ขาตีบ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- การป้องกัน
  • ค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผลที่เท้า
    • อาการ : แผลที่เท้า ชา แสบร้อน ปวดแปลบที่เท้า เท้าบวม ผิวหนังเปลี่ยนสี ปวดบริเวณน่องหลังจากเดินได้ระยะหนึ่ง
    • เท้าผิดรูป
    • ชีพจรเท้าเบาลง หรือตรวจ ABI </= 0.9 หรือ >/=1.3
  • ตรวจเท้าอย่างสมํ่าเสมอ
  • ใส่รองเท้าที่เหมาะสมกับรูปเท้า หากพบความเสี่ยง
  • การดูแลเท้า
    • ควบคุมระดับนํ้าตาลให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย
    • ทำความสะอาดเท้าทุกวันด้วยนํ้าสะอาดและสบู่อ่อน แล้วเช็ดเท้าให้แห้งทันที โดยเฉพาะตามซอกนิ้ว
    • สำรวจเท้าและเล็บเท้าอย่างละเอียดทุกวัน
    • สวมถุงเท้าหรือถุงน่องก่อนใส่รองเท้าเสมอ
    • เปลี่ยนถุงเท้าทุกวัน
    • ตรวจดูสิ่งแปลกปลอมก่อนใส่รองเท้าทุกครั้ง
    • ตัดเล็บตามแนวขอบเล็บเท่านั้น และใช้ตะไบลบรอยคม
    • ควรใส่ถุงเท้าก่อนนอนถ้ามีอาการเท้าเย็นในเวลากลางคืน
    • ถ้าผิวแห้งควรใช้ครีมหรือโลชั่น ยกเว้นซอกนิ้ว
    • หากพบความผิดปกติควรพบแพทย์

คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคเบาหวาน

  • โภชนบำบัด ; เน้นอาหารแนวเมดิเตอร์เรเนียน อาหารรูปแบบแดช อาหารที่เน้นพืชผัก อาการไขมันตํ่า เป็นต้น ลดการบริโภคนํ้าตาล และธัชชาติขัดสี
  • ลดนํ้าหนักหากมีดัชนีมวลกายและรอบเอวเกินเกณฑ์มาตรฐาน
  • แบบแอโรบิคระดับหนักปานกลาง 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือระดับหนัก 75 นาที/สัปดาห์ อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ และไม่งดออกกำลังกายติดต่อกันเกิน 2 วัน
  • แบบแรงต้าน 2-3 ครั้ง/สัปดาห์
  • ในผู้สูงอายุ ควรฝึกความยืดหยุน และฝึกการส่งตัว 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ เช่น โยคะ ไทชิ
  • เดินอย่างน้อย 10,000 ก้าวต่อวัน
- เข้าใจความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
- ปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต
- ออกกำลังกายอย่างสมํ่าเสมอ
- ห้ามสูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า และยาสูบในรูปแบบอื่น
- งดดื่มแอลกอฮอล์ ถ้าดื่มเป็นครั้งคราว ควรจำกัดปริมาณไม่เกิน 1 ดื่มมาตรฐาน/วัน สำหรับผู้หญิง และไม่เกิน 2 ดื่มมาตรฐาน/วัน สำหรับผู้ชาย (1 ดื่มมาตรฐานมีแอลกอฮอล์ปริมาณ 12-14 กรัม)
- คัดกรองภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (STOP-BANG)
- รักษาต่อเนื่องโดยแพทย์เพื่อควบคุมระดับนํ้าตาล และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ให้ได้ตามเป้าหมาย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
- ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน และโรคร่วมเป็นประจำตามคำแนะนำ
- รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี และวัคซีนตามเกณฑ์อายุ ได้แก่วัคซีนปอดอักเสบ และวัคซีนงูสวัดในผู้สูงอายุ

โรคเบาหวานระยะสงบ

- โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ใหญ่อายุ 18 ปีขึ้นไป
- ควบคุม HbA1C < 6.5% หรือ ผลตรวจจากเครื่องตรวจนํ้าตาลชนิดต่อเนื่อง (CGM) ได้ค่า GMI < 6.5% หรือ FPG(FBS) < 126 มก/ดล. อย่างน้อย 2 ครั้ง ต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน โดยไม่ต้องใช้ยา
- ไม่ใช่การหาย อาจกลับเป็นซํ้าได้จึงควรติดตามต่อเนื่องหลังเข้าสู่ระยะสงบ และตรวจคัดกรองโรคแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องเหมือนผู้ป่วยโรคเบาหวาน


ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

ชั้น 1

เวลาทำการ

วันจันทร์-ศุกร์ : 08.00 น. - 20.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ : 09.00 น. - 20.00 น.

เบอร์ติดต่อ

055-219-307 ต่อ 1188

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกอายุรกรรม

พญ.ณิชกานต์ สุทธิศาสตร์

แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป

แผนกอายุรกรรม

นพ.ธัชชัย ศรีเสน

แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป

แผนกอายุรกรรม

พญ.ปรียาฉัตร วันจันทร์

แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์