Header

การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทางศรีษะ

การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทางศรีษะ

อาการผิดปกติที่เกิดจากสมองกระทบกระเทือน

1. ระดับความรู้สึกตัวลดลง เช่น นอนซึม เรียกไม่ค่อยรู้สึกตัวหรือมีอาการเอะอะโวยวาย
2. โต้ตอบและทำตามคำสั่งไม่ได้
3. คลื่นไส้อาเจียน
4. อาการปวดศรีษะมากขึ้น
5. อาการอ่อนแรงของแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง
6. อาการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าแขนหรือขา
7. ตาพร่ามัวมองเห็นไม่ชัดเจน หรือมองเห็นเป็นภาพซ้อน

การรักษา

1. เฝ้าสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยตลอดเวลาอย่างน้อย 24-72 ชั่วโมง
2. งดอาหารเครื่องดื่ม เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการผ่าตัดในกรณีฉุกเฉิน
3. การรักษาทางยา รวมถึงการให้อาหารและน้ำเกลือทางหลอดเลือด
4. เอกซเรย์กะโหลกศรีษะ และอวัยวะอื่นๆที่บาดเจ็บ
5. ตรวจดูความผิดปกติอย่างละเอียด
6. ในกรณีสงสัยว่ามีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังส่วนคอหรือฐานกะโหลกร้าว อาจต้องมีการตรวจเอกซเรย์เพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์กระดูกคอ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองบริเวณฐานกะโหลก MRI ของกระดูกคอ หรืออาจฉีดสีตรวจเส้นเลือดเพิ่มเติมได้
7. ผู้ป่วยที่แพทย์ลงความเห็นว่าได้รับบาดเจ็บที่ศรีษะมีอาการสมองกระทบกระเทือนภายหลังได้รับการรักษาเบื้องต้น และขอกลับบ้านมีความจำเป็นต้องได้รับการเฝ้าสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดอีกอย่างน้อย 1-2 วัน และควรติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการที่เกิดจากโรคลมชักหรือจากการเสื่อมของสมองและเส้นประสาทในระยะยาวซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพและการฟื้นตัวของผู้ป่วย

กรณีอาการไม่รุนแรง

1. ในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศรีษะไม่รุนแรงแพทย์ได้ทำการตรวจผู้ป่วยแล้วเห็นว่าการบาดเจ็บที่ศรีษะซึ่งได้รับขณะนี้ยังไม่มีอาการบ่งบอกความรุนแรงที่จะต้องรับไว้ในโณงพยาบาล จึงแนะนำให้ผู้ป่วยพักรักษาตัวต่อที่บ้าน
2. งดการออกกำลังกายทุกชนิด
3. หลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะเอง อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
4. รับประทานอาหารอ่อนและงดดื่มสุราและยาที่ทำให้ง่วงซึมได้ทุกชนิด
5. ถ้ามีอาการปวดศรีษะเล็กน้อยในระหว่างนี้ ให้ทานยาแก้ปวดตามแพทย์สั่ง
6. ควรมีผู้ดูแลที่สามารถสังเกตอาการและเข้าใจวิธีปฏิบัติเพื่อคอยดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด (โดยเฉพาะในเด็ก)
7. ปลุกผู้ป่วยทุก 2-4 ชั่วโมง เพื่อประเมินความรู้สึกตัวของผู้ป่วยว่าลดลงหรือไม่

11 อาการบ่งชี้ ว่าควรกลับไปพบแพทย์

1. ง่วงซึมมากกว่าเดิม หรือไม่รู้ตัวหมดสติ
2. กระสับกระส่ายมาก พูดลำบาก หรือมีอาการชักกระตุก
3. กำลังของแขน ขา ลดน้อยลงกว่าเดิม
4. ชีพจรเต้นช้ามาก
5. มีไข้สูงปวดตุบๆ ในลูกตา
6. คลื่นไส้มาก อาเจียนติดต่อกันหลายๆครั้ง
7. ปวดศรีษะรุนแรงไม่ทุเลา
8. มีน้ำใสหรือน้ำใสปนเลือด ออกจากหู จมูก หรือไหลลงคอ
9. ปวดต้นคอ ก้มคอลำบาก
10. วิงเวียนศรีษะมาก หรือมองเห็นภาพพร่ามัว


แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์